BEHAVIOR
 
 

Change language :: Thai / English

หน้าหลัก

กลไกการเกิดพฤติกรรม

พฤติกรรมที่มีมาตั้งแต่กำเนิด
     :: โอเรียนเตชัน
     :: รีเฟล็กซ์
     :: รีเฟล็กซ์ต่อเนื่อง
     
พฤติกรรมการเรียนรู้
     :: Habituation
     :: Imprinting
     :: Trial and Error
     :: Conditioning
     :: Reasoning

พฤติกรรม กับพัฒนาการ
    ของระบบประสาท

การสื่อสารระหว่างสัตว์
     :: การสื่อสารด้วยท่าทาง
     :: การสื่อสารด้วยเสียง
     :: การสื่อสารด้วยการสัมผัส
     :: การสื่อสารด้วยสารเคมี

เฉลยคำถามท้ายบท


 

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก (Trial and Error )

          พฤติกรรมการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก ( Trial and Error ) เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกเมื่อ สัตวได้ผ่านการทดลองมาก่อน โดยพวกมันไม่รู้ว่าสิ่งที่ทำนั้น ก่อให้เกิดผลดี
หรือ ผลเสีย   แต่เมื่อพวกมันเรียนรู้แล้วว่าเหตุการณ์นั้นส่งผลดีก็จะตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น หากเรียนรู้ แล้วว่าเหตุการณนั้นก่อให้เกิดผลเสียก็จะหลีกเลียงหรือไม่แสดงพฤติกรรม สัตวที่์เกิดการเรียนรู้ แบบลองผิดลองถูก จะเลือกตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นผลดีหรือพอใจเท่านั้น

สรุปลักษณะสำคัญของพฤติกรรมแบบลองผิดลองถูก
          1. เป็นการแก้ไขปัญหาโดยอาศัยการทดลอง
          2. มีการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเดิมๆหลายคร้ง จึงจะเกิดการเรียนรู้
          3. หากมีการตอบสนองแบบเดิมๆหลายครั้งแล้วพบว่าเกิดผลดีก็จะกระทำต่อ หากตอบสนองแบบเดิมๆหลายๆครั้งแล้วไม่เกิดผลดีก็จะหยุดตอบสนอง
          4. การใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกนั้นสัตว์แต่ละชนิดใช้เวลาแตกต่างกัน เช่น มดจะใช้เวลาน้อยกว่าไส้เดือน

ตัวอย่างพฤติกรรมแบบลองผิดลองถูก
     ๐ การเดินในทางวกวนไปหาอาหารของหนู และหนูสามารถเดินทางไปหาอาหารและหาทางออกได้ในระยะเวลาอันสั้น หลังจากที่ได้ทดลองเดินมาก่อน
     ๐ การเลือกทางเดินของไส้เดือนที่อยู่ในกล่องรูปตัว T โดยมีด้านหนึ่งที่มืดและชื้น กับอีกด้านหนึ่งที่มีกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ซึ่งไส้เดือนที่ผ่านการฝึกมาแล้ว จะสามารถเลือกทางที่ถูกต้องได้ถึงประมาณร้อยละ 90
     ๐ เด็กเอามือไปจับยากันยุงที่ร้อน เมื่อเกิดการเรียนรู้จะไม่ทำพฤติกรรมเช่นนี้อีก

การเลือกทางเดินของไส้เดือนที่อยู่ในกล่องรูปตัว T

          จากภาพเป็นการทดลองปล่อยไส้เดือนดินเข้าไปในกล่องรูปตัว T ซึ่งด้านหนึ่งเป็นที่ชื้นและมืดซึ่งเป็นบริเวณที่
ไส้เดือนดินชอบ ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้าอ่อนๆปล่อยออกมาซึ่งไส้เดือนดินไม่ชอบ การทดลองได้ทำซ้ำไปมาหลายครั้งโดยในระยะแรกไส้เดือนจะไปยังทั้งสองฝั่งเท่ากันแต่เมื่อได้ทดลองหลายๆครั้งพบ
ว่าไส้เดือนดินจะไปฝั่งที่มืดและชื้นในความถี่ที่สูงขึ้น และจะไปฝั่งที่มีกระแสไฟฟ้าอ่อนลดลง

ตัวอย่างของพฤติกรรมแบบลองผิดลองถูกแบบอื่นๆ ดังภาพ

 

 

   

เรียบเรียงโดย ครูนันทนา สำเภา โรงเรียนปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ